ปัจจุบันคุณพ่อคุณแม่หลายท่านที่ส่งลูกเข้าโรงเรียนนานาชาติมักจะได้ยินชื่อระบบการศึกษาแบบใหม่ที่เรียกว่า IB หลายท่านยังคงสงสัยถึง ความแตกต่างระหว่างการเรียนในระบบ IB และ การเรียนในระบบ IGCSE ว่ามีข้อดีและข้อด้อยแตกต่างกันอย่างไรบ้าง ดังนั้นผู้ปกครองจึงควรทำความเข้าใจถึงความแตกต่างของ 2 ระบบนี้ เพื่อเป็นการวางแผนทางการศึกษาของบุตรหลานของท่านอย่างเหมาะสม
ระบบ
IB (the International
Baccalaureate) เป็นหลักสูตรใหม่ที่ร่างระบบโดยนักวิชาการจากศูนย์การส่งเสริมการศึกษานานาชาติที่เมืองเจนีวา
ณ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ หลักสูตรดังกล่าวเป็นหลักสูตรเข้มข้นที่เตรียมความพร้อมในการเข้าต่อมหาวิทยาลัยในทุกประเทศ
ซึ่งประกอบไปด้วย 6วิชาหลักดังนี้ ภาษาอังกฤษ, วิทยาศาสตร์เชิงทดลอง, ศิลปะ, คณิตศาสตร์,
วิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์, นอกจากนั้นนักเรียนจะต้องทำกิจกรรมอาสาพัฒนาชุมชน
กิจกรรมกีฬา และสร้างสรรค์ทางศิลปะอีกด้วย
ซึ่งหลักสูตรนี้จะไม่มุ่งเน้นสาขาฉะเพราะทาง
นักเรียนจะต้องเรียนในทุกวิชาที่กำหนดมา ซึ่งมักจะเกินกว่าความต้องการของสาขาวิชาที่นักเรียนต้องเรียนต่อในระดับมหาวิทยาลัย
เพราะฉะนั้นระบบ IB จึงเหมาะกับนักเรียนที่ยังไม่ค้นพบตนเองว่าต้องการเรียนต่อในสาขาใด
หรือ นักเรียนที่ต้องมีการย้ายถิ่นฐานไปต่างประเทศอยู่บ่อยครั้ง อาทิเช่น
บุตรหลานนักการทูต เป็นต้น
ระบบอังกฤษ การสอบเทียบ IGCSE ( International General
Certificate of Secondary Education) ซึ่งเทียบเท่ากับวุฒิ
มัธยมศึกษาปีที่ 6 ของในหลักสูตรไทย ซึ่งการสอบเทียบนี้นักเรียนจะต้องมีอายุ 16
ปีขึ้นไป ผู้สอบสามารถเลือกสอบได้ 6-10 วิชา เพื่อให้เหมาะกับสาขาวิชาการที่ตนเองกำลังจะศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัย
ผลการสอบจะแบ่งออกเป็น 7 ระดับ ดังนี้ Grad A, B, C, D, E, F, G หากนักเรียนสอบได้ตั้งแต่ Grade C ขึ้นไปถือว่าสอบผ่าน
นักเรียนที่กำลังจะเข้ามหาวิทยาลัยอินเตอร์ในประเทศไทยต้องสอบให้ได้ Grade
C อย่างน้อย 5 วิชาขึ้นไป จึงจะทำการยื่นคะแนนเข้ามหาวิทยาลัยได้
หากนักเรียนมีความประสงค์ที่จะเรียนต่อในระดับอุดมศึกษา จะต่อเรียนต่ออีก 2 ปี
เพื่อสอบ A Level (Advance Level)
ปัจจุบันโรงเรียนนานาชาติฮีทฟิลด์กำลังจะเปิดสอนในระดับ
A
Level หรือ Sixth From Colleges (Year 12 & Year 13) ผู้สอบ A level จะสอบเมื่อตนเองเรียนจบ Year
13 และต้องมีอายุ 18 ขึ้นไป วิชาที่ให้เลือกสอบปัจจุบันมีมากกว่า 50
วิชา นักเรียนสามารถลงสอบเพียง 2-4
วิชาเพื่อที่จะเรียนต่อในสาขาวิชาดังกล่าวอย่างลึกซึ้งในระดับปริญาตรี
ซึ่งผลสอบของ A Level สามารถนำไปยื่นเรียนต่อได้ทุกมหาวิทยาลัยทั่วโลก
การพิจารณาผลการสอบ A level นั้นจะแบ่งออกมาได้ดังนี้คือเกรด
A, B, C, D, E หากนักเรียนสอบได้
เกรด ที่กล่าวมาข้างต้นนี้ นี้จะถือว่านักเรียนสอบผ่านหมด
แต่มหาวิทยาลัยส่วนใหญ่จะพิจราณาผู้ที่มีผลสอบ เกรด C หรือ B ขึ้นไป
เมื่อกล่าวถึงข้อได้เปรียบของการเรียน
A
level จะเห็นได้อย่างชัดเจนว่ามีการวางรากฐานที่มั่นคงให้กับนักเรียนให้มีความรู้เฉพาะทางโดยเริ่มศึกษาตั้งแต่ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
เพื่อเรียนต่อในระดับมหาวิทยาลัย ซึ่งต่างจากการเรียนในระบบ IB ที่ไม่มุ่งเน้นด้านใดด้านหนึ่ง ดังนั้นนักเรียนจะได้ศึกษาวิชาที่ตนเองสนใจในมหาวิทยาลัยเท่านั้น
ซึ่งจะเสียเปรียบมื่อเทียบกับนักเรียนที่เรียนจบ A Level (Advance Level) มาในระดับอุดมศึกษา
This comment has been removed by a blog administrator.
ReplyDelete