โรคภูมิแพ้ (Allergy) คือความผิดปกติจาก ระบบภูมิคุ้มกันอาการภูมิแพ้เกิดขึ้นเมื่อระบบภูมิคุ้มกันของมนุษย์ตอบสนองต่อสสารที่ไม่เป็นอันตรายต่อร่างกายซึ่งมีอยู่ทั่วไปในธรรมชาติ
ซึ่งสารที่ก่อให้เกิดการตอบสนองนั้นเรียกว่า สารก่อภูมิแพ้ สารก่อภูมิแพ้ โดยอาการตอบสนองต่อสารเหล่านี้ไม่ใช่ความผิดปกติแต่กำเนิด, สามารถคาดเดาได้ และไม่เรื้อรัง
ภูมิแพ้เป็นหนึ่งในความผิดปกติจากภาวะภูมิไวเกินและถูกเรียกในเชิงวิชาการว่า ประเภทที่หนึ่ง (type I) หรือ ประเภทเฉียบพลัน (immediate) อาการภูมิแพ้เหล่านี้เฉพาะเจาะจงเนื่องจากเกิดขึ้นโดยการกระตุ้นเซลเม็ดเลือดขาวที่มากเกินไป
คือ แมสต์เซลล์ และ เบโซฟิล โดย แอนติบอดี ที่ชื่อว่า อิมมูโนโกลบูลินอี (IgE)
การกระตุ้นนี้ส่งผลให้เกิดการอักเสบ ซึ่งมีระดับตั้งแต่ทำให้ระคายเคืองไปจนถึงการเสียชีวิต
ภูมิแพ้ระดับเบา
เช่น เยือจมูกอักเสบ พบได้ทั่วไปในหมู่ประชากรของมนุษย์และก่อให้เกิดอาการ เช่น ตาแดง,
การคัน, น้ำมูกไหล, กลาก , ลมพิษ และ หอมหืด ซึ่งภูมิแพ้นี้เองที่ในบางสถานการณ์อาจจะเป็นต้นเหตุสำคัญในอาการหอบหืด
ในคนไข้บางราย อาการแพ้รุนแรงต่อสภาวะแวดล้อม,
สารก่อภูมิแพ้ทางโภชนาการ หรือยาบางชนิด
อาจส่งผลให้เกิดอาการตอบสนองที่เป็นอันตราย สารก่อภูมิแพ้มี 2 ประเภท ได้แก่
1.สารก่อภูมิแพ้ในอากาศ เช่น ไรฝุ่น แมลงสาบ ขนสุนัข ขนแมว เกสรหญ้า หรือเชื้อรา เป็นต้น
2.สารก่อภูมิแพ้ประเภทอาหาร เช่น นมวัว นมถั่วเหลือง ไข่ อาหารทะเล หรือแป้งสาลี เป็นต้น
ผู้ป่วยโรคภูมิแพ้จะมีอาการตามอวัยวะที่เกิดการอักเสบจาการกระตุ้นโดยสารก่อภูมิแพ้
เช่น
ผิวหนัง จะทำให้เกิด โรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง ผู้ป่วยจะมีอาการผื่นคันเรื้อรัง บริเวณใบหน้า ข้อพับแขนขา หรือลำตัว เป็นต้น
เยื่อบุจมูก จะทำให้เกิด โรคเยื่อบุจมูกอักเสบภูมิแพ้หรือโรคแพ้อากาศ ผู้ป่วยจะมีอาการน้ำมูกเรื้อรัง ร่วมกับอาการจาม คันหรือคัดจมูก
เยื่อบุตาขาว จะทำให้เกิด โรคเยื่อบุตาขาวอักเสบภูมิแพ้ ผู้ป่วยจะมีอาการคัน หรือเคืองตาเรื้อรัง แสบตา หรือน้ำตาไหลบ่อย ๆ
เยื่อบุทางเดินหายใจ จะทำให้เกิด โรคหืด ผู้ป่วยจะมีอาการไอ หอบหายใจไม่สะดวก แน่นหน้าอก หรือหายใจได้ยินเสียงวี๊ด
เยื่อบุทางเดินอาหาร จะทำให้เกิด โรคแพ้อาหาร ผู้ป่วยจะมีอาการอุจจาระร่วงเรื้อรัง อาเจียน น้ำหนักตัวลด ร่วมกับอาการผื่นเรื้อรังและภาวะซีด
ผิวหนัง จะทำให้เกิด โรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง ผู้ป่วยจะมีอาการผื่นคันเรื้อรัง บริเวณใบหน้า ข้อพับแขนขา หรือลำตัว เป็นต้น
เยื่อบุจมูก จะทำให้เกิด โรคเยื่อบุจมูกอักเสบภูมิแพ้หรือโรคแพ้อากาศ ผู้ป่วยจะมีอาการน้ำมูกเรื้อรัง ร่วมกับอาการจาม คันหรือคัดจมูก
เยื่อบุตาขาว จะทำให้เกิด โรคเยื่อบุตาขาวอักเสบภูมิแพ้ ผู้ป่วยจะมีอาการคัน หรือเคืองตาเรื้อรัง แสบตา หรือน้ำตาไหลบ่อย ๆ
เยื่อบุทางเดินหายใจ จะทำให้เกิด โรคหืด ผู้ป่วยจะมีอาการไอ หอบหายใจไม่สะดวก แน่นหน้าอก หรือหายใจได้ยินเสียงวี๊ด
เยื่อบุทางเดินอาหาร จะทำให้เกิด โรคแพ้อาหาร ผู้ป่วยจะมีอาการอุจจาระร่วงเรื้อรัง อาเจียน น้ำหนักตัวลด ร่วมกับอาการผื่นเรื้อรังและภาวะซีด
ทำไมถึงเป็นโรคภูมิแพ้
ปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดของการเกิดโรคภูมิแพ้ แต่ปัจจัยต่อไปนี้อาจเกี่ยวข้อง กับการเกิดโรคภูมิแพ้ ได้แก่
1.ปัจจัยทางด้านพันธุกรรม ผู้ป่วยโรคภูมิแพ้มักมีประวัติบิดาหรือมารดาเป็นโรคภูมิแพ้
โดยที่ผู้ป่วยอาจไม่ได้เป็นโรคภูมิแพ้ชนิดเดียวกับที่บิดาหรือมารดาเป็น
หรือไม่ได้แพ้สารก่อภูมิแพ้ชนิดเดียวกับที่บิดาหรือมารดาแพ้ได้
พบว่าผู้ป่วยที่บิดาหรือมารดาเป็นโรคภูมิแพ้ มีโอกาสเป็นโรคภูมิแพ้ได้ร้อยละ 20-40
และมีโอกาสเป็นโรคภูมิแพ้ได้ร้อยละ 50-80 ในกรณีที่บิดาและมารดาเป็นโรคภูมิแพ้
2.ปัจจัยทางด้านสิ่งแวดล้อม มลพิษในอากาศ เช่น ควันจากท่อไอเสียรถยนต์ ควันจากโรงงานอุตสาหกรรม ควันบุหรี่ เป็นต้น รวมถึงวิถีชีวิตของประชากรที่เปลี่ยนจากสังคมชนบทมาเป็นสังคมเมือง ทำให้มารดาไม่สามารถให้นมบุตรได้ในช่วงแรกคลอด หรือความเร่งด่วนในการดำเนินชีวิตประจำวัน ทำให้จำเป็นต้องรับประทานอาหารจานด่วนหรืออาหารสำเร็จรูป ซึ่งส่วนใหญ่ประกอบไปด้วยสารอาหารประเภทแป้งและไขมัน สิ่งเหล่านี้อาจเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดโรคภูมิแพ้ได้ เนื่องจากพบว่าผู้ป่วยโรคภูมิแพ้ร้อยละ 15 ไม่ได้มีบิดาหรือมารดาเป็นโรคภูมิแพ้
2.ปัจจัยทางด้านสิ่งแวดล้อม มลพิษในอากาศ เช่น ควันจากท่อไอเสียรถยนต์ ควันจากโรงงานอุตสาหกรรม ควันบุหรี่ เป็นต้น รวมถึงวิถีชีวิตของประชากรที่เปลี่ยนจากสังคมชนบทมาเป็นสังคมเมือง ทำให้มารดาไม่สามารถให้นมบุตรได้ในช่วงแรกคลอด หรือความเร่งด่วนในการดำเนินชีวิตประจำวัน ทำให้จำเป็นต้องรับประทานอาหารจานด่วนหรืออาหารสำเร็จรูป ซึ่งส่วนใหญ่ประกอบไปด้วยสารอาหารประเภทแป้งและไขมัน สิ่งเหล่านี้อาจเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดโรคภูมิแพ้ได้ เนื่องจากพบว่าผู้ป่วยโรคภูมิแพ้ร้อยละ 15 ไม่ได้มีบิดาหรือมารดาเป็นโรคภูมิแพ้
โรคภูมิแพ้รักษาได้อย่างไร
ผู้ป่วยโรคภูมิแพ้สามารถที่จะดำเนินชีวิตได้ตามปกติไปพร้อมๆกับโรค เพียงแต่รู้จักปฏิบัติตนให้ถูกต้องเท่านั้น หลักสำคัญในการปฏิบัติตนมีอยู่ด้วยกัน 3 ข้อ คือ
ผู้ป่วยโรคภูมิแพ้สามารถที่จะดำเนินชีวิตได้ตามปกติไปพร้อมๆกับโรค เพียงแต่รู้จักปฏิบัติตนให้ถูกต้องเท่านั้น หลักสำคัญในการปฏิบัติตนมีอยู่ด้วยกัน 3 ข้อ คือ
1. หลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้ การปฏิบัติตนข้อนี้นับว่าสำคัญมาก เนื่องจากการหลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้จะทำให้ร่างกายของผู้ป่วยลดปริมาณการสร้างสารแพ้ ทำให้อาการของโรคภูมิแพ้ลดน้อยลง และผู้ป่วยสามารถลดปริมาณการใช้ยาให้เหลือน้อยที่สุดเพื่อควบคุมอาการของโรค
2. การใช้ยาอย่างสม่ำเสมอตามคำแนะนำของแพทย์ รวมถึงผู้ป่วยสามารถล้างจมูกด้วยน้ำเกลือ และบริหารยาพ่นผ่านทางจมูกหรือปากได้ถูกต้องตามขั้นตอน เนื่องจากการรักษาโรคภูมิแพ้ผู้ป่วยจำเป็นต้องล้างจมูกด้วยน้ำเกลือ และบริหารยาพ่นผ่านทางจมูกและปากนอกเหนือจากการรับประทานยา ฉะนั้นแพทย์ผู้ทำการรักษารวมถึงผู้ปกครอง หรือผู้ดูแลผู้ป่วยจำเป็นต้องคอยให้ความรู้ ความเข้าใจ และตรวจสอบความถูกต้องของขั้นตอนการบริหารยา เนื่องจากการบริหารยาไม่ถูกต้องจะทำให้ผู้ป่วยไม่ได้รับยาตามขนาดที่แพทย์ต้องการ
3. การดูแลตนเองให้มีสุขภาพกายและใจที่แข็งแรงอยู่เสมอ รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารประเภทแป้งและไขมันจนมากเกินไปที่จะทำให้เกิดโรคอ้วน และทำให้การรักษาโรคภูมิแพ้ไม่ได้ผลดีเท่าที่ควร นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ไม่ควรนอนดึก รวมถึงหลีกเลี่ยงสิ่งแวดล้อมที่อาจกระตุ้นให้อาการของโรคเป็นมากขึ้น เช่น ควันบุหรี่ ควันจากท่อไอเสียรถยนต์ หรือควันจากการประกอบอาหาร เป็นต้น
อ้างอิง
http://www.bionutric-hy.com/bio_Allergy.html
http://transferfactorthai.igetweb.com/index.php?mo=3&art=362111
http://www.ku.ac.th/e-magazine/february48/know/health.html
http://www.phyathai.com/medicalarticledetail/1/22/260/th
http://variety.teenee.com/foodforbrain/52872.html
Comments
Post a Comment