“ไวรัสอีโบล่า”
โรคไวรัสอีโบล่าหรือไข้เลือดออกอีโบล่า เกิดจากไวรัสอีโบล่า โดยผู้ป่วยมักสัมผัสกับเลือดหรือของเหลวร่างกายจากสัตว์ที่ติดเชื้อ เช่น ลิง หมู หรือค้างคาวผลไม้ ทางการแพทย์เชื่อว่าค้างคาวผลไม้เป็นพาหะของโรคนี้
อาการของโรคอีโบล่ามีความผันแปรและมักเกิดฉับพลัน โดยหลังจากรับเชื้อเข้าสู่ร่างกายจะใช้ระยะฝักตัวประมาณ2วันถึง3สัปดาห์ จากนั้นผู้ป่วยจะมีไข้สูงอย่างต่ำ38.8°Cหรือ102°Fเจ็บคอ ปวดศีรษะอย่างรุนแรง ปวดกล้ามเนื้อ ข้อต่อ ช่องท้องอย่างรุนแรง อ่อนเพลียอย่างหนักและวิงเวียนศีรษะ หลังจากนั้นจะมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ท้องร่วง ตับและไตทำงานลดลง และอาการจะเริ่มร้ายแรงขึ้น เช่น ท้องร่วงอย่างแรง อุจจาระกลายเป็นสีดำหรือแดงจัด อาเจียนเป็นเลือด ตาแดงจัด ความดันโลหิตลดต่ำกว่า90/60ไต ม้ามและตับได้รับความเสียหาย อัตราการตายสูงมากถึงระหว่าง50% - 90% สาเหตุการตายเกิดจากขาดเลือดหรืออวัยวะภายในหยุดทำงานเฉียบพลัน
ปัจจุบันยังไม่มีการรักษาจำเพาะสำหรับโรคไวรัสอีโบลา มีแต่เพียงการรักษาประคับประคอง (supportive treatment) ได้แก่ทำหัตถการแบบรุกล้ำให้น้อยที่สุด รักษาสมดุลอิเล็กโตรไลต์และสารน้ำเพื่อป้องกันภาวะขาดน้ำ ให้สารต้านการแข็งตัวของเลือดในระยะแรกเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดลิ่มเลือดแข็งตัวในหลอดเลือดแบบแพร่กระจาย (DIC) ให้สารช่วยการแข็งตัวของเลือดในระยะท้ายเพื่อควบคุมไม่ให้มีเลือดออก รักษาระดับออกซิเจน บรรเทาอาการปวด และใช้ยาต้านเชื่อแบคทีเรียหรือยาต้านเชื้อราเพื่อรักษาการติดเชื้อซำซ้อน สำหรับผู้ป่วยที่รอดชีวิตอาจสามารถส่งผ่านโรคได้ทางเพศสัมพันธ์เป็นเวลาเกือบสองเดือน
การป้องกันรวมถึงการลดการระบาดของโรคสามารถทำได้โดยการตรวจสอบหาการติดเชื้อในสัตว์เหล่านี้ หากพบสัตว์ป่วยต้องกำจัดและจัดการกับซากอย่างเหมาะสม สำหรับผู้ที่ดูแลผู้ป่วยในกลุ่มนี้ต้องกับเสื้อผ้าป้องกันและล้างมือเมื่ออยู่ใกล้กับผู้ป่วย
สำหรับประเทศไทย กระทรวงสาธารณสุข ติดตามสถานการณ์การระบาดเชื้อไวรัสอีโบล่า ใน 4 ประเทศอย่างใกล้ชิด และชี้ว่าไทยเสี่ยงต่อไวรัสอีโบล่าต่ำ แม้ไทยยังไม่เคยพบผู้ป่วยโรคนี้ก็ตาม แต่ไม่ประมาท สั่งเฝ้าระวังป้องกัน 3 มาตรการ ดังนี้
1. ให้สำนักระบาดวิทยาติดตามสถานการณ์โรคจากองค์การอนามัยโลก สาธารณสุขทุกจังหวัดเฝ้าระวังผู้ป่วย โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวต่างชาติและผู้ที่เดินทางมาจากประเทศที่มีการระบาดของโรค
2. ให้โรงพยาบาลทุกแห่ง เข้มงวดต่อการรักษาผู้มีอาการต้องสงสัย โดยใช้มาตรการเดียวกับการดูแลผู้ป่วยโรคติดต่อร้ายแรง เช่น ไข้หวัดนก ซาร์ส เป็นต้น
3. ให้กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์เตรียมความพร้อมห้องแล็บในการตรวจหาเชื้อ ซึ่งไทยได้รับความร่วมมือจากสหรัฐฯ ในการตรวจวิเคราะห์เชื้อไวรัสชนิดนี้
ส่วนประชาชนที่จะเดินทางไปยังประเทศที่มีการระบาดของโรคอีโบล่า ขอให้ปฏิบัติตัว ดังนี้
1. หลีกเลี่ยงการสัมผัสสัตว์ป่าทั้งที่ป่วยหรือไม่ป่วย
2. หลีกเลี่ยงการการรับประทานเนื้อสัตว์ป่า ที่ป่วยตายโดยไม่ทราบสาเหตุ โดยเฉพาะสัตว์จำพวก ลิง หรือค้างคาว หรือเมนูอาหารพิสดารที่ใช้สัตว์ป่า หรือสัตว์แปลกๆ มาประกอบอาหาร
3. หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับสารคัดหลั่ง เช่น เลือด หรือสิ่งของเครื่องใช้ของผู้ป่วย เนื่องจากเชื้ออาจปนเปื้อนกับสารคัดหลั่งของผู้ป่วย หรือศพของผู้ป่วยที่เสียชีวิต
4. หลีกเลี่ยงการสัมผัสโดยตรงกับผู้ป่วยหากมีความจำเป็นให้สวมอุปกรณ์ป้องกันร่างกายและล้างมือบ่อยๆ
Ebola
hemorrhagic fever (Ebola HF) is one of numerous Viral Hemorrhagic Fevers. It is
a severe, often fatal disease in humans and nonhuman primates (such as monkeys,
gorillas, and chimpanzees).
Ebola HF is caused by infection with a virus of the family Filoviridae, genusEbolavirus. When infection occurs,symptoms usually begin
abruptly. The first Ebolavirus species was
discovered in 1976 in what is now the Democratic Republic of the Congo near the
Ebola River. Since then, outbreaks have appeared sporadically.
Signs and symptoms
EVD is a severe acute viral illness often characterized by the sudden onset of fever, intense weakness, muscle pain, headache and sore throat. This is followed by vomiting, diarrhoea, rash, impaired kidney and liver function, and in some cases, both internal and external bleeding. Laboratory findings include low white blood cell and platelet counts and elevated liver enzymes.
People are infectious as long as their blood and secretions contain the virus. Ebola virus was isolated from semen 61 days after onset of illness in a man who was infected in a laboratory.The incubation period, that is, the time interval from infection with the virus to onset of symptoms, is 2 to 21 days.
Vaccine and treatment
No licensed vaccine for EVD is available. Several vaccines are being tested, but none are available for clinical use. Severely ill patients require intensive supportive care. Patients are frequently dehydrated and require oral rehydration with solutions containing electrolytes or intravenous fluids.
No specific treatment is available. New drug therapies are being evaluated.
Reducing the risk of Ebola infection in people
- Reducing the risk of wildlife-to-human transmission from contact with infected fruit bats or monkeys/apes and the consumption of their raw meat. Animals should be handled with gloves and other appropriate protective clothing. Animal products (blood and meat) should be thoroughly cooked before consumption.
- Reducing the risk of human-to-human transmission in the community arising from direct or close contact with infected patients, particularly with their bodily fluids. Close physical contact with Ebola patients should be avoided. Gloves and appropriate personal protective equipment should be worn when taking care of ill patients at home. Regular hand washing is required after visiting patients in hospital, as well as after taking care of patients at home.
- Communities affected by Ebola should inform the population about the nature of the disease and about outbreak containment measures, including burial of the dead. People who have died from Ebola should be promptly and safely buried.
ขอบคุณข้อมูลจาก
วิกิพีเดีย
เดลินิวส์ออนไลน์
องค์การอนามัยสาธารณสุข
Comments
Post a Comment