ไข้หวัดใหญ่ ชนิด เอ เอช 1 เอ็น 1
ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ เอ เอช1เอ็น1 เป็นโรคที่แพร่ติดต่อระหว่างคนสู่คน
เริ่มพบที่ประเทศเม็กซิโกและสหรัฐอเมริกา ต่อมาได้แพร่ออกไปยังอีกหลายประเทศ
เชื้อสาเหตุ
เกิดจากเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ชนิดเอ เอช1เอ็น1 (A/H1N1) ซึ่งเป็นเชื้อไข้หวัดใหญ่ตัวใหม่
ที่ไม่เคยพบมาก่อน เกิดจากการผสมสารพันธุกรรมของเชื้อไข้หวัดใหญ่ของคน สุกร และนก
การแพร่ติดต่อ
เชื้อไวรัสที่อยู่ในเสมหะ น้ำมูก น้ำลายของผู้ป่วย
แพร่ติดต่อไปยังคนอื่น ๆ โดยการไอจามรดกันโดยตรง หรือหายใจเอาฝอยละอองเข้าไป
หากอยู่ใกล้ผู้ป่วยในระยะ 1 เมตร
บางรายได้รับเชื้อทางอ้อมผ่านทางมือหรือสิ่งของเครื่องใช้ที่ปนเปื้อนเชื้อ เช่น
แก้วน้ำ ลูกบิดประตู โทรศัพท์ ผ้าเช็ดมือ เป็นต้น เชื้อจะเข้าสู่ร่างกายทางจมูก ตา
ปาก
ผู้ป่วยอาจเริ่มแพร่เชื้อได้ตั้งแต่ 1 วันก่อนป่วย
ช่วง 3 วันแรกจะแพร่เชื้อได้มากสุด
และระยะแพร่เชื้อมักไม่เกิน 7 วัน
การแพร่ติดต่อ
เชื้อไวรัสที่อยู่ในเสมหะ น้ำมูก น้ำลายของผู้ป่วย
แพร่ติดต่อไปยังคนอื่น ๆ โดยการไอจามรดกันโดยตรง หรือหายใจเอาฝอยละอองเข้าไป
หากอยู่ใกล้ผู้ป่วยในระยะ 1 เมตร
บางรายได้รับเชื้อทางอ้อมผ่านทางมือหรือสิ่งของเครื่องใช้ที่ปนเปื้อนเชื้อ เช่น
แก้วน้ำ ลูกบิดประตู โทรศัพท์ ผ้าเช็ดมือ เป็นต้น เชื้อจะเข้าสู่ร่างกายทางจมูก ตา
ปาก
ผู้ป่วยอาจเริ่มแพร่เชื้อได้ตั้งแต่ 1 วันก่อนป่วย
ช่วง 3 วันแรกจะแพร่เชื้อได้มากสุด
และระยะแพร่เชื้อมักไม่เกิน 7 วัน
อาการป่วย
ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะเริ่มมีอาการหลังจากได้รับเชื้อไวรัส 1 – 3
วัน น้อยรายที่นานถึง 7 วัน
อาการป่วยใกล้เคียงกันกับโรคไข้หวัดใหญ่ที่เกิดขึ้นทั่วไป เช่น มีไข้ ปวดศีรษะ
ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ อ่อนเพลีย ไอ เจ็บคอ อาจมีอาการเบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน
หรือท้องเสียด้วย
ผู้ป่วยส่วนใหญ่มีอาการไม่รุนแรง หายป่วยได้โดยไม่ต้องนอนรักษาตัวในโรงพยาบาล
อาการจะทุเลาและหายป่วยภายใน 5 – 7 วัน
แต่บางรายที่มีอาการปอดอักเสบ รุนแรง จะพบอาการหายใจเร็ว เหนื่อย หอบ หายใจลำบาก
ซึ่งอาจทำให้เสียชีวิตได้
การรักษา
ผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงต้องรีบไปโรงพยาบาลทันที
ซึ่งแพทย์จะพิจารณาให้ยาต้านไวรัส คือ ยาโอลเซลทามิเวียร์ (oseltamivir) เป็นยาชนิดกิน หากผู้ป่วยได้รับยาภายใน 2 วันหลังเริ่มป่วย
จะให้ผลการรักษาดี
ผู้ป่วยที่มีอาการเล็กน้อย เช่น มีไข้ต่ำ ๆ และยังรับประทานอาหารได้
อาจไปพบแพทย์ที่คลินิก หรือขอรับยาและคำแนะนำจากเภสัชกรใกล้บ้าน และดูแลรักษากันเองที่บ้าน
โดย
- - รับประทานยารักษาตามอาการ
เช่น ยาลดไข้พาราเซตามอล ยาละลายเสมหะ เป็นต้น
และเช็ดตัวลดไข้เป็นระยะด้วยน้ำสะอาดไม่เย็น
- - ดื่มน้ำสะอาดและน้ำผลไม้มาก
ๆ งดดื่มน้ำเย็น
- - พยายามรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ให้ได้มากพอเพียง
เช่น โจ๊ก ข้าวต้ม ไข่ ผัก ผลไม้ เป็นต้น หากรับประทานอาหารได้น้อย
อาจต้องได้รับวิตามินเสริม
- - นอนหลับพักผ่อนมาก
ๆ ในห้องที่อากาศถ่ายเทดี
- - ไม่จำเป็นต้องรับประทานยาปฏิชีวนะ
ยกเว้นติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน ซึ่งต้องรับประทานยาจนหมดตามแพทย์สั่ง เพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อดื้อยา
- - คู่มือแพทย์และบุคลากรทางสาธารณสุขในการรักษาและดูแลผู้ป่วยที่ติดเชื้อหรืออาจติดเชื้อไข้หวัดใหญ่
การป้องกันไม่ให้ติดเชื้อ
- - หลีกเลี่ยงการคลุกคลีกับผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่
- - หากต้องดูแลผู้ป่วย
ควรสวมหน้ากากอนามัย เมื่อดูแลเสร็จ
ควรรีบล้างมือด้วยน้ำและสบู่ให้สะอาดทันที
- - ไม่ใช้แก้วน้ำ
หลอดดูดน้ำ ช้อนอาหาร ผ้าเช็ดมือ ผ้าเช็ดหน้าร่วมกับผู้อื่น
โดยเฉพาะผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่
- - ใช้ช้อนกลางทุกครั้ง
เมื่อรับประทานอาหารร่วมกับผู้อื่น
- - หมั่นล้างมือบ่อยๆ
ด้วยน้ำและสบู่หรือเจลแอลกอฮอล์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังไอ จาม
- - รักษาสุขภาพให้แข็งแรง
โดยรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ รวมทั้งไข่ นม ผัก และผลไม้
ดื่มน้ำสะอาดและนอนหลับพักผ่อนให้พอเพียง ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
หลีกเลี่ยงบุหรี่และสุรา
การป้องกันไม่ให้แพร่เชื้อ
- - หากป่วยเป็นไข้หวัดใหญ่
ควรลาหยุดงาน หยุดเรียน เป็นเวลา 3 - 7 วัน
ซึ่งจะช่วยลดการแพร่ระบาดได้มาก
- - พยายามหลีกเลี่ยงการใกล้ชิดคลุกคลีกับคนอื่น
ๆ
- - สวมหน้ากากอนามัย
เมื่ออยู่กับผู้อื่น หรือใช้ทิชชูปิดจมูกปากทุกครั้งที่ไอจาม
ทิ้งทิชชูลงในถังขยะที่มีฝาปิด แล้วล้างมือให้สะอาดด้วยน้ำและสบู่
Swine flu is a relatively new strain of influenza (flu) that was responsible for a flu pandemic during 2009-2010.
It is sometimes known as H1N1 influenza because it is the H1N1 strain of virus.
On 10 August 2010, the World Health Organization (WHO) declared that the swine flu pandemic was officially over. However, this does not mean that swine flu can be ignored.
The swine flu virus will be one of the main viruses circulating this winter. It has therefore been included in the 2012-13 seasonal flu vaccine.
Symptoms of swine flu
The symptoms of swine flu are similar to those of other types of seasonal flu.
If you or a member of your family has a fever or high temperature (over 38C/100.4F) and two or more of the following symptoms, you may have swine flu:
- unusual tiredness
- headache
- runny nose
- sore throat
- shortness of breath or cough
- loss of appetite
- aching muscles
- diarrhoea or vomiting
What to do if you have swine flu
People with swine flu typically have a fever or high temperature (over 38C or 100.4F) and may also have aching muscles, sore throat or a dry cough .The symptoms are very similar to other types of seasonal flu. Most people recover within a week, even without special treatment.
Preventing the spread of swine flu
The most important way to stop flu spreading is to have good respiratory and hand hygiene. This means sneezing into a tissue and quickly putting it in a bin. Wash your hands and work surfaces regularly and thoroughly to kill the virus.
Comments
Post a Comment